มูลนิธิส่งเสิรมการศึกษาไข้หวัดใหญ่

INFLUENZA FOUNDATION(THAILAND)

มูลนิธิส่งเสิรมการศึกษาไข้หวัดใหญ่

INFLUENZA FOUNDATION(THAILAND)

มูลนิธิส่งเสิรมการศึกษาไข้หวัดใหญ่

INFLUENZA FOUNDATION(THAILAND)

วันที่ : 2013-01-14

 

West Nile Virus (WN) เชื้อที่กำลังโด่งดังในอเมริกา !!
 

         

          ขณะนี้เจ้าหน้าที่ในเมืองดัลลัส รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ต้องเร่งควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 50 ปี ที่เมืองดัลลัสต้องใช้เครื่องบินปล่อยยาฆ่าแมลงเพื่อกำจัดยุง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเวสต์ ไนล์


West Nile Virus (WN)
 

          West Nile Virus (WN)   เป็นไวรัสที่ก่อปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ซ้ำมาเมื่อไม่กี่ปีนี้ ในประเทศแถบอบอุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปและอเมริกาเหนือ ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อทั้งในคน ม้า นกและสัตว์อื่น ๆ โรคที่เกิดจาก WN นี้คือ ไข้สมองอักเสบที่มีความรุนแรงทำให้ถึงแก่กรรมได้ทั้งในคน ม้า และนกบ้านและนกป่าด้วย

          ประวัติของ West Nile Virus (WN) นี้  แยกเป็นครั้งแรกจาก ผู้ใหญ่สตรีเพศที่ป่วยมีอาการไข้ที่ตำบล เวท์ไพล์ ในประเทศยูกันดา เมื่อปี พ.ศ. 2480   ถิ่นที่พบโรคในเวลาต่อมาคือเมื่อ พ.ศ. 2493 คือประเทศอียิปต์ และพบว่าก่อโรคเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบอย่างรุนแรงในผู้ป่วยสูงอายุในอิสราเอลเมื่อปี พ.ศ. 2500


West Nile Viru

          โรคของม้าที่รายงานเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี พ.ศ. 2503 จากประเทศอียิปต์และฝรั่งเศส แล้วก็เงียบหายไปสำหรับข้อมูลทางระบาดวิทยาที่จัดโรคนี้เป็นโรคติดเชื้อที่ปรากฏขึ้นใหม่ เนื่องจากมีการรายงานผู้-ป่วยใหม่ในฤดูร้อนของ พ.ศ. 2542 ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาในซีกโลกตะวันตกซึ่งไม่เคยมีรายงานมาก่อน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการและอาการแสดงของไข้สมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบในช่วง 8 สัปดาห์ มีรายงานผู้ป่วย 59 ราย ที่ต้องนอนโรงพยาบาล และ 7 ราย ได้ถึงแก่กรรมในที่สุด

          จนทำให้ในที่สุดได้มีการสอบสวนพบว่ามีการ
ระบาดของการติดเชื้อไวรัสนี้ในนกโดยเฉพาะกา (Corvus brachyrhynchos) โดยพบว่า  ในบริเวณที่มีการระบาดจะมีนก กา ไก่ฟ้า มีการตายมากกว่าปรกติ และจากการตรวจซากนกบ่งว่ามีพยาธิสภาพแบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอย่างรุนแรง และสามารถแยกเชื้อไวรัสได้ และต่อมาก็พบการติดเชื้อในม้าที่อยู่บนเกาะลองจ์ (Long island) ในนิวยอร์ค

          ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการระบาดในอิสราเอล ในเดือนสิงหาคม 2544 ได้มีรายงานการเกิดโรคนี้อีกในสหรัฐอเมริกา โดยพบผู้ป่วย 6 ราย ในเมืองนิวยอร์ค แอตแลนตา และรัฐฟลอริด้า  จนกระทั่งได้มาระบาดอีกครั้งในปัจจุบันนี้คือปี 2555 ที่เขตดัลลัส เคาน์ตี้ และเมืองเฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

Family : Flaviviridae
Genus : Flavivirus Japanese Encephalitis Antigenic Complex
ไวรัสในกลุ่มนี้ ได้แก่
 
Alfues  
 
Cacipacore
 Japanese encephalitis
(ทวีปเอเชีย)
 
Koutango
 Kunjin
(ทวีปออสเตรเลีย)
 Murray Valley encephalitis
(ทวีปออสเตรเลีย)
 St. Louis encephalitis (ทวีปอเมริกาเหนือและใต้)

          West Nile Virus เป็นไวรัสมีเปลือกหุ้มสัณฐานกรมขนาด 40-60 นาโนเมตร กรดนิวคลิอิกเป็นอาร์เอ็นเอ แถบเดียว  ประมาณ 10,000-11,000 เมตร  

          ลักษณะทางคลินิกจะมีระยะฟักตัว 5-15 วัน หลังจากถูกยุง Culex spp. ซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้กัด  ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ถ้ามีได้แก่
ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาจมีผื่นที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโต ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดศีรษะมาก ไข้สูง คอแข็ง ซึม ชัก หมดสติ  อัมพาต (อาการและอาการแสดงของไข้สมองอักเสบหรือเยื่อหุ้ม
สมองอักเสบ)  

 

          และยังไม่มีรายงานการติดต่อจากคนสู่คน  การรักษาไม่มียารักษาที่จำเพาะ ให้รักษาตามอาการและแบบประคับประคอง  ส่วนการควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศโดยเฉพาะในขณะที่มีรายงานการติดเชื้อ ได้แก่ การห้ามนำเข้า  นกจากพื้นที่ที่มีรายงานโรคนี้เหล่านี้

          แม้ปัจจุบันเชื้อนี้ยังไม่เป็นที่แพร่ระบาดในประเทศไทย  แต่อย่างไรก็ตาม  อย่าลืมดูแลสุขภาพ  และรู้เท่าทันเชื้อก่อโรค  เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของเรากันนะคะ

ข้อมูลจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.พ. ประเสริฐ ทองเจริญ


อ้างอิง
1. Fine A, Layton M. Lessons from the West Nile viral encephalitis outbreak in New York city, 1999: implications for bioterrorism preparedness. Clin Infect Dis 2001;32:277-82.
2. Marfine AA, Gubler DJ. West Nile encephalitis: an emerging disease in the United States. Clin Infect Dis 2001;33:1713-9.
3. Petersen LR, Roehrig JT. West Nile Virus: a reemerging global pathogen. Emerging



 


มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ 630 ซอย อาคารสงเคราะห์ (ซอย 23) ถ. นวมินทร์ แขวง คลองจั่น เขต บางกะปิ กทม.