พยาธิวิทยาของโรคไข้หวัดนก

บรรยายโดย นายแพทย์มงคล อุยประเสริฐกุล
ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

        โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดต่อของสัตว์ปีกที่เกิดในคน เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza type A มี ความจำเพาะกับ sialic acid ที่ link อยู่กับ galactose ชนิด ?2,3 linkage ซึ่งพบได้บนผิวเซลล์ที่ไม่มีขนกวัดของเยื่อบุผิวของหลอดลมฝอยจนถึงถุงลม การติดเชื้อจากสัตว์ปีกมาสู่คนอาจติดต่อโดยการสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือซากสัตว์ป่วยรวมทั้งดินที่ปนเปื้อนเชื้อ

       จากการศึกษาในผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนก พบว่ามีเพิ่มขึ้นของระดับของ cytokine หลายชนิดในปอดและในร่างกายได้แก่ interleukin-6 (IL-6) interferon grammar (IF-?) tumor necrosis factor-? (TNF-?) มีการลดลงของเซลล์เม็ดเลือดขาว ภาวะการทำลายของเนื้อเยื่อปอดโดยทั่วไป (diffuse alveolar damage) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตส่วนใหญ่ นอกนั้นอาจพบความผิดปกติในอวัยวะอื่นๆอีกเช่นภาวะ fatty change ในตับ ภาวะ hemophagocytosis การบวมที่สมองและภาวะ acute tubular necrosis

        นอกจากระบบทางเดินหายใจแล้วเชื้อไวรัสไข้หวัดนกยังกระจายออกไปยังอวัยวะอื่นๆเช่น ม้าม และลำไส้รวมทั้งสามารถขยายพันธุ์ได้ในบางอวัยวะอีกด้วย

 

<<back