งานวิจัยโรคไข้หวัดนกในสัตว์ในประเทศไทย

บรรยายโดยอาจารย์.น.สพ.ดร.วิทวัช วิริยะรัตน์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        ปัจจุบันงานวิจัยโรคไข้หวัดนกในสัตว์ในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลากหลายหัวข้ออาทิเช่น ระบาดวิทยาของเชื้อไข้หวัดนกทั้งแบบทั่วไปและระบาดวิทยาระดับอนูชีววิทยา การพัฒนาวัคซีนสำหรับไข้หวัดนก การศึกษาการคงอยู่คงทน (Stability) ของเชื้อไข้หวัดนกในสภาพแวดล้อม การใช้สมุนไพรเพื่อเสริมความต้านทานโรค การพัฒนาระบบคอมพาร์ทเม้นท์ในการเลี้ยงสัตว์ (Compartmentalization) โดยงานวิจัยเหล่านี้ได้ดำเนินการวิจัยโดยนักวิจัยในหน่วยงานต่างๆเช่น มหาวิทยาลัย กรมปศุสัตว์ เป็นต้น

        สำหรับงานวิจัยโรคไข้หวัดนกในสัตว์ที่ดำเนินการศึกษาโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล นั้นปัจจุบันได้ดำเนินการอยู่ 2 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 เป็นการสำรวจโรคไข?หวัดนกในสัตว์ที่ไม่ใช่ปศุสัตว์ ซึ่งดำเนินการภายใต้การทำงานของศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้สำรวจโรคไข?หวัดนกในนกธรรมชาติ นกสวยงาม และสัตว์ปีกในสวนสัตว์ จากผลสำรวจพบว่า สามารถพบสัตว์จำนวนน้อยกว่าร้อยละ 1 ที่พบเชื้อไข้หวัดนกจากจำนวนตัวอย่างทั้งหมดประมาณ 12,000 ตัวอย่าง โดยสัตว์ติดเชื้อเหล่านี้พบว่ามีทั้งแบบติดเชื้อและแสดงอาการป่วย และแบบติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการป่วย ด้วยเหตุนี้ศูนย์เฝ้าระวังฯจึงคิดหาแนวทางการเตือนภัยไข้หวัดนกในแหล่งที่อาจเป็นพื้นที่เสี่ยงในการแพ่รกระจายโรคมาสู่คนเช่นในสวนสัตว์ เป็นต้น โดยได้ริเริ่มโครงการ ไก่ยามเฝ้าระวังโรคไข?หวัดนก (Sentinel bird project) ขึ้นที่สวนสัตว์บึงฉวาก จ.สุพรรณบุรี และได้ทำการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของโครงการต่อไป ส่วนรูปแบบที่ 2 ของงานวิจัยนั้นได้ดำเนินการในรูปแบบการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของเชื้อไวรัสเช่น การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 จากสัตว์ปีกพื้นถิ่นของไทย และนกธรรมชาติที่ติดเชื้อโดยเป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อทราบคุณสมบัติพื้นฐานเกี่ยวกับการก่อโรคของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในสัตว์ปีกพื้นถิ่นสายพันธุ์พื้นเมือง และนกธรรมชาติชนิดที่สำคัญที่มักพบการติดเชื้อ รวมไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันวิทยาในสัตว์ปีกพื้นถิ่นและนกธรรมชาติภายหลังได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดนก การเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ ของเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในนกธรรมชาติและนกอพยพ เป็นต้น

        โดยข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยจะมีประโยชน์ในด้านต่างๆเช่น การนำข้อมูลไปใช้ในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกในทั้งมนุษย์และสัตว์ การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพด้านโรคติดเชื้อ การพัฒนาศักยภาพของประเทศทั้งทางด้านบุคลากร เทคนิค อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการให้สามารถรับมือกับเชื้อโรคติดต่อร้ายแรงชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากเชื้อไข้หวัดนก เพื่อเตรียมความพร้อมหากมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นในประเทศในอนาคต เป็นต้น

<<back