Coordination Mechanism for and Key Developments of the Regional and Global Efforts

บรรยายโดย นพ. โคจิ นาเบ
Avian and Human Influenza Regional Coordinating Officer for Asia-Pacific
United Nations System Influenza Coordination (UNSIC) Asia-Pacific Regional Hub


นายแพทย์โคจิ นาเบ ได้นำเสนอรายงาน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. แนะนำหน่วยงาน UNSIC (UN System Influenza Coordination)
  2. เสนอแผนการดำเนินงานที่สำคัญในระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ

UN System Influenza Coordination
        ประวัติของ UN System Influenza Coordination หรือเรียกสั้นๆว่า UNSIC เป็นหน่วยงานภายใต้เลขาธิการสหประชาชาติ โดยนายโคฟี่ อันนัน ได้แต่งตั้ง นายแพทย์เดวิด เนบราโร (Dr.David Nabarro) เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโส รับผิดชอบการดำเนินงานและตั้งรับในเรื่องไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ โดยรวมในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2548

แผนการดำเนินงานที่สำคัญ
        เนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก ได้มีผลกระทบหลายด้าน อาธิเช่น ปศุสัตว์, สุขอนามัยของประชาชน, กฎหมาย, เศรษฐกิจและสังคม, การให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดการระบาด, การสื่อสาร และประสานงาน

         จะเห็นได้ว่าเราให้ความสำคัญกับด้านปศุสัตว์เป็นอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้ เศรษฐกิจได้รับผลกระทบ ด้านอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ดังนั้น หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ภายใต้สหประชาชาติ ได้แก่ FAO, WHO, UNDP, R/C, UNICEF, WFP, OCHA, ICAO, UNWTO จึงได้ร่วมมือกันเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ นอกจากนี้ ยังจะต้องมีหน่วยงานภายในของแต่ละประเทศ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางปฏิบัติงาน และประสานงานในส่วนภูมิภาค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก APEC, ASEAN, ACMECS และ MBDS และทั้งหมดนี้ ต้องอาศัยระบบการติดต่อสื่อสารและประสานงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้การทำงานร่วมกันเกิดประสิทธิผลอย่างยิ่งยวด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ

       1. ระดับประเทศ (Country Level)
        การทำงานร่วมกันของหน่วยงานภายในแต่ละกระทรวง เช่น การประสานงานระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือการประสานงานระหว่าง UN, NGOs หรือองค์กรเอกชนต่างๆ กับกระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

       2. ระดับภูมิภาค (Regional Level)
       การทำงานจะต้องสอดคล้องกัน ระหว่าง UN System และ APEC, ASEAN, ACMECS

       3. ระหว่างประเทศ (Inter-country level)
       การประสานงานระหว่างประเทศ มีนโยบายที่สอดคล้องกัน เช่น นโยบาย International Partnership on Avian and Pandemic Influenza (IPAPI) ของ ประธานาธิบดี จอร์ช บุช

การดำเนินงานของ UNSIC

  • การประสานงานกับประเทศในกลุ่ม UN
  • ให้การสนับสนุนภายใต้ระบบของสหประชาชาติ ซึ่งในขณะนี้มีประจำการ 1 แห่งที่ กรุงเทพฯ
  • UNSIC ยังมีหน้าที่สนับสนุนให้ระบบของสหประชาชาติ ระหว่างประเทศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหน่วยงานกลางอยู่ที่นิวยอร์ค
  • UNSIC สนับสนุนและร่วมมือกับ IPAPI และการสัมมนาที่ปักกิ่ง
  • UNSIC จะประสานงาน และทำงานร่วมมือกับ WHO, FAO และ UNICEF
  • UNSIC ส่งเสริม Joint Approaches to Pandemic Contingency Planning ภายใต้ระบบของสหประชาชาติ
  • UNSIC จะพัฒนาระบบเพื่อบรรลุผลสำเร็จในการติดตามประเมินผล หรือวินิจฉัยผลกระทบในการติดตามประเมินผล

        แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของ UNSIC ได้แนวคิดมาจากการประชุมติดตามผลการดำเนินงาน 2 ครั้ง คือ การประชุมความก้าวหน้าทางวิชาการ และการใช้งบประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ กรุงปักกิ่ง เดือนมกราคม 2549 และการประชุมสถานการณ์ และความร่วมมือของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. ความสอดคล้องของข้อมูล การศึกษา และการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ
  2. ส่งเสริมความยุติธรรมและเหมาะสม ของการสนับสนุนหรือชดเชย เพื่อการดำรงชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
  3. สนับสนุนการปฏิบัติงานที่เหมาะสมทางด้านสุขภาพสัตว์
  4. สนับสนุนการปฏิบัติงานที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับการระบาดในคน
  5. เน้นการแบ่งปันข้อมูลและเนื้อหาทางชีววิทยา เพื่อการวิทยาศาสตร์และสังคมวิทยา
  6. สนับสนุนขอบข่ายของการจัดงบประมาณที่ยืดหยุ่น


        นอกจากนี้ยังมีแผนการปฏิบัติงานใน 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งมีจุดประสงค์ ดังนี้

  1. ความมั่นคงทางชีววิทยา และสุขภาพสัตว์
  2. การดำรงชีวิตที่ต่อเนื่องตามปกติ
  3. สุขภาพที่ดีของประชากร
  4. การประสานงานภายในประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ
  5. การให้ข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อมีการระบาด
  6. การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในระหว่างสถานการณ์การระบาด
  7. การให้บริการทั่วไป

    สามารถอ่านรายละเอียดได้ใน www.influenza.undg.org


<<back