Current Trends in Avian Influenza - John M Nicholls and J S Malik Peiris

เรียบเรียงโดย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ


       เชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอเป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบได้บ่อย เชื้อไวรัสมีลักษณะที่จะเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางพันธุกรรมได้ง่าย ในแต่ละปี พบการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เรียกว่า Antigenic drift ซึ่งก่อให้เกิด strain ใหม่ของเชื้อไวรัส ในรอบศตวรรษที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Antigenic shift ก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ (Pandemic influenza) ถึง 3 ครั้ง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการ reassortment ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคพบว่า ไม่มีความแตกต่างของอัตราป่วยตายของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในเขตร้อนและเขตหนาว

       ปี พ.ศ. 2540 ทั่วโลกให้ความสนใจกับการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ซึ่งสามารถติดต่อมายังมนุษย์ได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึง 2549 เชื้อไข้หวัดนก H5N1 ได้ระบาดอย่างต่อเนื่องรุนแรง สามารถแบ่งเชื้อตามลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ (Clade) ได้แก่ ลักษณะที่พบในประเทศอินโดนีเชีย และลักษณะที่พบในประเทศเวียดนามและไทย ปัจจุบันเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1ไม่จำกัดแต่ในภูมิภาคเอเซียเท่านั้น แต่ได้แพร่ระบาดไปยังอเมริกากลาง และยุโรป การแพร่ระบาดไปยังภูมิภาคต่างๆของโลกน่าเชื่อว่าเกิดจากนกป่าที่บินไปยังที่ต่างๆ

        การศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก พยาธิวิทยา การปรับตัวของเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจมนุษย์และอวัยวะอื่นๆ ยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติม สำหรับในเรื่องการปรับตัวเองของเชื้อไวรัสอาจอธิบายด้วยเรื่องโครงสร้างของ sialic acid receptors ซึ่งปรากฎอยู่บน epithelial cells และ alveolar pneumocytes และน่าเชื่อว่า cytokine TNF? มีความสำคัญกับพยาธิสภาพที่พบ เนื่องจากพบ cytokine TNF? ปริมาณสูงในผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก

 

<<back