Pathology of Human Avian Influenza

นายแพทย์มงคล อุยประเสริฐกุล์
Department of Pathology
Siriraj Hosp.

        พยาธิสภาพในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนกในรายที่มีอาการรุนแรง (highly pathogenic avian influenza) พบการทำลายของเนื้อเยื่อปอดโดยทั่วไป (diffused alveolar damage) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต แม้กระนั้นมีรายงานว่าพบผู้ป่วยสองรายที่เสียชีวิตโดยไม่พบความผิดปกติของปอดเลย ความผิดปกติที่พบในอวัยวะอื่นๆได้แก่ ภาวะ fatty change ในตับ ภาวะ hemophagocytosis การบวมที่สมอง และภาวะ acute tubular necrosis ของไต จากการตรวจศพผู้ป่วยซึ่งถึงแก่กรรมชาวไทยไม่พบเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนเลยแสดงว่าอวัยวะเป้าหมายของเชื้อสายพันธุ์ H5N1 ต่างจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วไป เป็นเหตุให้การตรวจสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยอาจให้ผลลบลวงหากเก็บตัวอย่างไม่ลึกพอ มีการพบการเพิ่มขึ้นของ proinflammatory cytokines เช่น tumor necrotic factor (TNF ?) และ interleukins ในอวัยวะที่เกี่ยวข้อง แสดงว่าสารเหล่านี้น่าจะเป็นกลไกสำคัญในการก่อให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะต่างๆและทำให้โรคมีความรุนแรง โดยทั่วไปแล้ว TNF ? เป็น cytokine สำคัญที่ทำให้เกิด immunopathology โดย TNF ? มีบทบาทเกี่ยวกับ inflammation จึงสันนิษฐานว่าน่าจะมีผลทำให้มีการคั่งของ neutrophil ในปอด แล้วเกิด neutrophil degranulation, พยาธิสภาพที่ปอด และ ARDS คาดว่า TNF ? น่าจะเป็นสาเหตุของการเกิด leucopenia และ hemophagocytic syndrome ด้วย


<<back