Genetic sequence analysis of avian influenza A H5N1 in Thailand

ยง ภู่วรวรรณ
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสตับอักเสบ
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

        การระบาดไข้หวัดนก H5N1 ในประเทศไทย เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2547 เป็นต้นมา โดยการระบาดเป็น 3 wave ดั้งนี้ คือ wave ที่ 1 มกราคม ถึง พฤษภาคม 2547 wave ที่ 2 เดือน กรกฏาคม 2547- เมษายน 2548 และ wave ที่ 3 เดือนกรกฏาคม 2548 ถึงต้นเดือนธันวาคม 2548 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ได้ทำการศึกษาระบาดวิทยาโมเลกุลของเชื้อไข้หวัดนก H5N1 ไปแล้วมากกว่า 160 สายพันธ์ โดยสามารถถอดรหัสทั้งตัว เป็นตัวแลกของประเทศไทย และถอดรหัสทั้งตัว (Whole genome) มากกว่า 40 ตัวอย่าง และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรหัสพันธุกรรมในสัตว์ปีกชนิดต่าง ๆ รวมทั้งนกธรรมชาติ คน เสือ และ แมว

        การศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส H5N1 ได้มีการมาเปรียบเทียบวิเคราะห์เชิงวิวัฒนาการ (evolution) โดยการทำการศึกษา phulogenetic analysis เปรียบเทียบกับสายพันธ์ที่พบในที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งเอเซียและยุโรปตามกาลเวลาที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ในส่วน eleavage site ที่จะเป็นการบ่งบอกถึงชนิดของไวรัสว่าเป็น highly pathogenic virus ในการเกิดโรคหรือไม่การ วิเคราะห์ในส่วน receptor binding site ของ hemagglutinin เพื่อทราบความจำเพาะต่อการเกาะติดเชื้อของไวรัส ทั้งการแจกแจง genotype ของไวรัสตาม nucleoprotein gene รวมไปถึงการขาดหายไปของกรดอะมิโน ในส่วนของ neuraminidase
โดยสรุปการศึกษายังไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ กล่าวคือ ในส่วน receptor binding site ส่วนที่ดื้อต่อยา neuraminidase inhibitor ในส่วน cleavage site ได้มีการเปลี่ยนแปลงใน wave ที่ 3 หนึ่งกรดอะมิโนคือจาก R เป็น K ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการพบในนกป่ามาก่อน (รายงานใน Acta Virol 2005) ไวรัสที่พบในประเทศไทยมาตลอดเวลา 2 ปี พบว่าเป็น clade I ซึ่งแตกต่าง จากการระบาดที่ Indonesia และ Qinghai และยุโรป ซึ่งเป็น clade II

        การศึกษาระบาดวิทยาในประเทศไทยยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องโดยทำร่วมกับกรมปศุสัตว์


<<back