Modern trend in influenza vaccine
ประเสริฐ เอื้อวรากุล

        
เรียบเรียงโดย นพ. ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์


         วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัคซีนที่เตรียมจากการเลี้ยงเชื้อในไข่ไก่ฟัก โดยอาจเป็นวัคซีนเชื้อตายชนิด split vaccine หรือ subunit vaccine หรือเป็นวัคซีนเชื้อเป็น (live attenuated vaccine) ถึงแม้ว่าจะมีวัคซีนเหล่านี้จะใช้กันอย่างมีประสิทธิภาพมานานแล้วก็ตาม ปัญหาของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังคงมีอยู่ด้วยเหตุผลสำคัญสองประการคือ
1. ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนมีอายุสั้น และเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางแอนติเจนของเชื้ออยู่เป็นประจำ ทำให้ต้องฉีดวัคซีน ซ้ำทุกๆปี
2. ในกรณีที่เกิดการระบาดใหญ่ กำลังการผลิตวัคซีนของโลกในปัจจุบันมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีของไข่ไก่ฟัก ทำให้มีข้อจำกัดในกำลังการผลิตที่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ตามความต้องการในระยะสั้น
เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน โดยมุ่งเป้าไปสองทาง คือหนึ่งการพัฒนา universal vaccine ที่สามารถครอบคลุมเชื้อทุกสายพันธุ์และให้ภูมิคุ้มกันที่อยู่ได้ยาวนานขึ้น ซึ่งก็ได้มีการศึกษาการใช้แอนติเจนอื่นของไวรัสได้แก่ M2 และ NP และสองคือการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากๆในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจกันมากที่สุดคือการเปลี่ยนจากไข่ไก่ฟักเป็นวัคซีนที่ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยง (cell-based technology) ซึ่งมีความเป็นไปได้ในสองลักษณะคือการเลี้ยงไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง หรือการผลิต recombinant antigen ในเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งทั้งสองวิธีนี้น่าจะมีการผลิตวัคซีนออกใช้จริงในอนาคตอันใกล้นี้




<<back