Role of Biotechnology Center of Thailand in Vaccine Development

        
เรียบเรียงโดย นพ. ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์


         Role of the National Center for Genetic Engineering and Biotechnology in Vaccine Development.
The National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC) has considered self-sufficiency in vaccine production as one of the desirable targets for Thai biotechnology development. BIOTEC advocates the possession of vaccine manufacturing capacity by Thai organizations, and has supported the megaproject plan of Ministry of Public Health to build a vaccine factory and pilot plant for production of influenza vaccine. BIOTEC supports research and development of various vaccines. The current focus is the influenza pandemic vaccines and dengue haemorrhagic fever vaccines. The funding has gone to several universities. BIOTEC also host a number of in-house laboratories. The Medical Biotechnology Network centered in Siriraj hospital is very focusing on dengue research with a team in Chiangmai devoting to recombinant vaccine research. This is done in collaboration with the Vaccine Research Institute of Mahidol University. The use of recombinant DNA technology to develop BCG-based vaccines candidates and reverse genetic technology to develop influenza vaccines is also planned.

         บทบาทของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติในการพัฒนาวัคซีน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติหรือศูนย์ไบโอเทคได้ยึดถือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นส่วนหนึ่งในการวางกลยุทธในการวิจัยด้านต่างๆ ในการนี้ความสามารถของประเทศไทยที่จะพึ่งตัวเองทางด้านการผลิตวัคซีนได้ในระดับหนึ่งจึงเป็นเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ โดยที่ศูนย์ไบโอเทคสนับสนุนแนวคิดที่ว่าองค์กรไทยควรเป็นเจ้าของกิจการผลิตวัคซีนบางอย่าง และสนับสนุนโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุขที่จะสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้งในระดับโรงงานต้นแบบและระดับการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม ศูนย์ไบโอเทคสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนหลายอย่าง ในปัจจุบันมุ่งความสนใจไปที่วัคซีนไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก โดยสนับสนุนการวิจัยในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ห้องปฏิบัติการของศูนย์ไบโอเทคเองก็ทำงานทางด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนด้วย เครือข่ายเทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ซึ่งมีสถานวิจัยในโรงพยาบาลศิริราชเป็นแกนกลางมุ่งเน้นการวิจัยทางด้านไข้เลือดออก โดยทำงานร่วมกับคณะแพทยศาสาตร์มหาวิทยาลัยชียงใหม่ และ สถาบันวิจัยและพัฒนาวัคซีนของมหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะเดียวกันนักวิจัยของศูนย์ไบโอเทคก็กำลังริเริ่มการทำงานวิจัยวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยเทคโนโลยี reverse genetics และใช้วิศวพันธุกรรมในการพัฒนาวัคซีนที่มีวัคซีน BCG เป็นฐาน


<<back