การเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ทางห้องปฏิบัติการในประเทศไทย 2547-2548

        
ปราณี ธวัชสุภา
National Institute of Health,
Dept. of Medical Sciences.


        ไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งเป็น influenza A B และ C influenza A เท่านั้นที่แยกเป็น subtype subtype ที่ระบาดในปัจจุบันนี้คือ H1N1 และ H3N2 ไวรัสไข้หวัดใหญ่จำแนกตามคุณสมบัติของ glycoprotein ที่อยู่บนเปลือกผิวคือ hemagglutinin(H) และ neuraminidase(N) influenza A เป็นสาเหตุของการเกิดระบาดรุนแรงทั่วโลก(pandemic) Spanish pandemic เกิดขึ้นครั้งแรก 2461 ทำให้มีคนเสียชีวิตทั่วโลก 20-40 ล้านคน ครั้งล่าสุดคือ Russian pandemic ในปี 2520 WHO จึงได้จัดตั้ง WHO Global Influenza Network ขึ้น 4 แห่ง ณ ประเทศ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น เพื่อประสานความร่วมมือ ในการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ WHOให้การรับรองInfluenza surveillance network หรือ National Influenza Center(NIC) 114 แห่งใน 84 ประเทศไทยได้รับการรับรองเป็นศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ(NIC) ตั้งแต่ 2515 ได้ดำเนินการเฝ้าระวังไวรัสไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่นั้นมา ปี 2544 ได้ขยายเครือข่ายการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ ไปยัง 4 ภาค คือ จังหวัดตาก หนองคาย จันทบุรี และ สงขลา โดยคัดเลือกเครือข่ายให้มีพื้นที่ติดชายแดน มีวัตถุประสงค์ ดักจับเชื้อไวรัสที่แปลกใหม่ 2540 ฮ่องกงรายงาน ครั้งแรกพบผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดนกเชื้ออันตรายสูง H5N1 จำนวน 18 ราย เสียชีวิต 6 ราย 2546 เป็นครั้งแรกที่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกที่เวียดนาม H5N1 จำนวน 3 ราย 2547 ประเทศไทยผู้ป่วยได้รับการตรวจยืนยัน H5N1 ครั้งแรก 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย ปีต่อมาไข้หวัดนก H5N1 ขยายไป กัมพูชา จีน และอินโดนีเซีย พบผู้ป่วย 4,7 และ 16 รายตามลำดับ ประเทศไทยตรวจยืนยันผู้ป่วย H5N1 อีก 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย 2549 ตุรกีเป็นประเทศแรกในแถบยุโรปที่พบผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 4ราย 2546 ถึง 7 มกราคม 2549 WHO รายงานผู้ป่วยไข้หวัดนกที่ประเทศกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ไทย ตุรกี เวียดนาม 4,7,16,22,4 และ 93 รายตามลำดับ การระบาดของไข้หวัดนกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไข้หวัดนกกับ ไข้หวัดใหญ่ ทำให้เชื้อกลายพันธุ์เป็นไปได้สูง ถ้าหากเกิดไวรัส subtype ใหม่ที่ติดจากคนสู่คนได้ง่าย รวดเร็ว และผู้ป่วยมีอาการรุนแรง โอกาสเกิด pandemic ย่อมเป็นไปได้ การตรวจวินิจฉัยไวรัสไข้หวัดนกจำเป็นต้องรายงานผลรวดเร็ว จึงนำวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี conventional RT-PCR และ real time PCR นำตัวอย่างแยกเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง MDCK หากพบผลบวก นำมาจำแนกเชื้อด้วยวิธี immunofluoresence assay(IFA) เพื่อตรวจวินิจฉัย influenza A,B กรณีตรวจพบ influenza A นำมาจำแนก subtype H1 H3 และ H5 ด้วยวิธี IFA โดยใช้ WHO specific monoclonal antibodies ต่อ subtypeเหล่านี้ ผลการเฝ้าระวังไวรัสไข้หวัดใหญ่ ปี2547 พบแยก subtype H1N1 และ H3N2 เป็นจำนวนมาก influenza B แยกได้น้อย 2548 subtype H3N2 พบมากสุด H1N1 ลดน้อยลง ส่วนinfluenza B เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบ subtype ที่แยกได้กับประเทศแถบ Asia Pacific 2547เกือบทุกประเทศ subtype ที่พบคล้ายคลึงกัน subtype H3N2 พบมากที่สุด H1N1 และ influenza B พบจำนวนน้อยและพบเพียงบางประเทศเท่านั้น 2548subtypeH3N2แยกได้มากในบางประเทศเช่นเดียวกับ influenza B สายพันธุ์ที่พบ A/New Caledonia/20/99 (H1N1) มีลักษณะเด่น สายพันธุ์subtypeH3N2ช่วงต้นเป็น A/Fujian/411/2002 ช่วงครึ่งปีหลังเริ่มมีการกลายพันธุ์เป็นA/Wellington/1/2004และ A/California/7/2004 ส่วน influenza B เป็นสายพันธุ์ B/Hong Kong/330/2001, B/Shanhai/361/2002 และ B/Malaysia/2506/2004 การศึกษาphylogenetic tree ด้วยวิธี nucleotide sequences พบว่า HA และ NA gene ของผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 ที่แยกได้ในประเทศไทย พบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสายพันธุ์ A/Viet Nam/1203/04(H5N1)

        สรุป 2547 subtype ที่แยกได้สูงสุดคือ H3N2 2548 พบ H1N1 ลดลงในขณะที่influenza B เพิ่มมากขึ้น influenza B สายพันธุ์ใหม่ คือ B/Malaysia/2506/2004 ประเทศไทยรายงานผู้ป่วยไข้หวัดนก (H5N1) 22 รายเสียชีวิต 14 ราย สายพันธุ์ที่พบคล้ายคลึงกับ A/Viet Nam/1203/04 การรายงานผลการตรวจวินิจฉัย สามารถรายงานได้ทุกรายภายใน 24 ชั่วโมง


<<back