การดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการวิจัย พัฒนา และการเตรียมความพร้อมด้านวัคซีนไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก

วิทยากร: นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


ความเป็นมา

  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งที่ 302/2548 ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2548 แต่งตั้ง คณะทำงานเตรียมความพร้อมด้านวัคซีนไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ในกรณีที่เกิดการระบาดใหญ่ในมนุษย์ โดยมี อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นประธาน, รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติเป็นรองประธาน, ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย, ผู้แทนจากกรมต่าง ๆ และองค์การเภสัชกรรม เป็นกรรมการ และผู้แทนกรมควบคุมโรคและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมเป็นคณะเลขานุการ
  • คณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายและแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านวัคซีนไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกในกรณีที่มีการระบาดใหญ่ในมนุษย์

เหตุผลที่ต้องมีการวิจัย พัฒนา และเตรียมความพร้อมด้านวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกในประเทศไทย

  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่มียีนส์เป็นแท่ง ๆ 8 แท่ง ได้แก่ PB1, PB2, PA, HA, NP, NA, M และ NS
  • การเรียกชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เช่น H5N1 นั้น เป็นการเรียกตามโปรตีนที่สร้างมาจากยีนส์ HA (Haemagglutinin) และ NA (Neuraminidase)
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่มี 3 types คือ Type A, B และ C
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็นปัญหาในคนได้แก่ Type A และ B
  • Influenza Type A ที่เคยระบาดในคนได้แก่ เชื้อที่มี HA (Haemagglutinin gene) ที่เป็น H1, H2 และ H3
  • ในสัตว์ปีกมี Haemagglutinin gene ที่เป็น H ตัวอื่น ๆ ที่ไม่เคยพบในคน
  • ในการแบ่งตัวของไข้หวัดใหญ่มักจะมีการ mutation เกิดขึ้น ทำให้พันธุกรรมของไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อยอยู่เสมอ เรียกว่า genetic drift
  • หากในร่างกายหรือใน host หรือในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ๆ มีเชื้อไข้หวัดใหญ่มากกว่าหนึ่งชนิด อาจจะเกิดมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม (reassortment) ระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ที่ร่างกายไม่เคยรู้จักมากก่อนและไม่มีภูมิคุ้มกัน เรียกว่า genetic shift ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระบาดใหญ่ (pandemic) ได้
  • เชื่อกันว่า การระบาดของไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ๆ มักเริ่มจากทางตอนใต้ของจีน โดยเป็นไปได้ว่า หมูมีส่วนทำให้เกิดไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (กล่าวคือหมูเป็น mixing vessel) และอาจจะมี migratory birds นำมาแพร่สู่ ห่าน, เป็ด และ ไก่ที่อยู่ในประเทศในเอเชีย เช่น ไทย, เวียดนาม
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบันมีการผลิตปีต่อปี (seasonal human influenza vaccine) ตามข้อมูล strain ที่มีการระบาดในแต่ละปี ตามคำแนะนำขององค์การอนามัย โดยแบ่งเป็น northern hemisphere vaccine และ southern hemisphere vaccine ซึ่งประกอบด้วย influenza A สองตัว และ influenza B หนึ่งตัว กล่าวคือ เป็น trivalent vaccine
  • การผลิต seasonal human influenza vaccine ในปัจจุบันใช้การฉีด vaccine seed ลงไข่ไก่ฟัก (embryonated eggs)
  • ในการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดนก (avian influenza vaccine หรือ pandemic influenza vaccine) ไม่สามารถใช้การพัฒนาโดยฉีดลงไข่ไก่ฟักโดยตรงได้เลย เพราะเชื้อมี pathogenicity สูง จะทำให้ไข่ไก่ฟักตาย ทำให้เชื้อไวรัสไม่เพิ่มจำนวน จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคอื่น เช่น reverse genetics มาเตรียม infectious virion ที่ไม่ pathogenic ต่อไข่ไก่ฟักก่อน แล้วจึงค่อยนำ infectious virion นั้นมา propagate ในไข่ไก่ฟัก และผลิตเป็นวัคซีนต่อไป
  • เนื่องจากทั้ง human influenza vaccine และ avian influenza vaccine เป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่เหมือนกัน ฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะมีกระบวนการก่อนหน้าที่จะนำมา propagate ต่างกัน แต่กระบวนการหลังจากนั้น เพื่อผลิตให้เป็น pilot lot และนำไปทดลองในมนุษย์ (clinical trial) นั้น เป็นกระบวนการเดียวกัน
  • Seasonal human influenza vaccine ที่ผลิตใหม่ในแต่ละปี ไม่ต้องนำไปทดลองในมนุษย์
  • ขณะนี้การผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (สำหรับขาย) ส่วนใหญ่ และวัคซีนไข้หวัดนก (สำหรับการทดลอง) ยังเป็น egg-based technology อยู่ แต่ก็มีความพยายามที่จะพัฒนาไปเป็น cell-based technology ซึ่งน่าจะใช้เวลาอีก 3-10 ปีแล้วแต่ความพร้อมของแต่ละบริษัท กว่าที่ cell-based technology จะใช้ได้อย่างสมบูรณ์
  • ขณะนี้ทั่วโลกมีโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหม่ไม่ถึง 20 แห่ง และมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 300 ล้านโด้สต่อปี ซึ่งน่าจะไม่เพียงพอกับความต้องการ เชื่อว่า หากเกิดการระบาดใหญ่ ประเทศที่ไม่มีขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนไขหวัดใหญ่/ไข้หวัดนกจะไม่มีวัคซีนใช้

ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโดยสังเขป

  • วิจัยวัคซีนในระดับห้องปฎิบัติการ (laboratory-scale R&D) ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคเดิม (conventional method) หรือ reverse genetics method โดยในขั้นตอนนี้นอกจากจะทดลองในหลอดทดลองแล้วยังมีการทดสอบในสัตว์ทดลองด้วย
  • นำวัคซีนที่พัฒนาได้มาผลิตในระดับ pilot scale ในไข่หรือในเซลล์ (แล้วแต่เทคโนโลยีที่มีอยู่) โดยต้องผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice)
  • ขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อขอทดลองวัคซีนใหม่
  • นำวัคซีนไปทดลองในคน (clinical trials) ในระยะที่ 1, 2 และ 3
  • หากผลการทดลองในคนได้ผล ก็ขอขึ้นทะเบียนยาใหม่
  • จากนั้น ก็สามารถนำไปผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในประเทศหรือเพื่อขาย (industrial scale)

การวิจัยและพัฒนาวัคซีนไข้หวัดนกในประเทศอื่น ๆ

  • องค์การอนามัยโลก โดยความร่วมมือของ NIBSC (National Institute for Biological Standards and Control) ประเทศอังกฤษ สามารถมอบ vaccine seed ของ H5N1 ให้ประเทศที่ต้องการนำไปทดลองพัฒนาและผลิตวัคซีนได้ โดยไม่คิดมูลค่า
  • US NIH ของประเทศสหรัฐอเมริกาจ้างให้บริษัท Sanofi Pasteur ประเทศฝรั่งเศสผลิต pilot lot ให้ในรูป bulk vaccine ที่ยังไม่ได้ formulated จำนวน 2.7 ล้านโด้ส โดยแบ่งจำนวน 8,000 โด้ส นำมา formulated และขณะนี้กำลังทดลองในคน (phase I) อยู่
  • National Institute of Infectious Diseases (NIID) ประเทศญี่ปุ่น ได้ขอ vaccine seed จาก NIBSC และให้บริษัทผลิตวัคซีนในญี่ปุ่นเตรียม pilot lot เพื่อทดลองในคนต่อไป

การวิจัยและพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกในประเทศไทย

  • ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดนกด้วยเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงเทคนิค reverse genetics เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของ H อื่น ๆ เช่น H7 ด้วย
  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ติดต่อขอรับ vaccine seed จาก NIBSC เพื่อเตรียมมาทดลองต่อแล้ว และกำลังพัฒนากระบวนการผลิตวัคซีนในระดับกึ่งอุตสาหกรรม
  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Medical Biotechnology Center, MBC) ที่จะจัดให้มีโรงงานวัคซีนระดับกึ่งอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน GMP
  • คณะทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้ง กำลังเจรจากับบริษัท Sanofi Pasteur ประเทศฝรั่งเศส และบริษัทในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเกี่ยวกับการจัดให้มีโรงงานผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมในประเทศไทย
  • คณะทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งกำลังเจรจากับบริษัท Sanofi Pasteur ในการทดลองวัคซีนไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในคน เพื่อว่า หากมีการระบาดใหญ่ ประเทศไทยจะมีโอกาสได้ใช้วัคซีนดังกล่าว

 

<<back