วิวัฒนาการของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และสถานการณ์ทั่วโลกของไข้หวัดใหญ่ในสัตว์

วิทยากร: K. F. Shortridge
มหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกง เฉินตู และโอ๊คแลนด์


        โดยปกติแล้วการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่มักเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ จากการศึกษาทางนิเวศวิทยาของเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัส H3N2 ทั่วเกาะฮ่องกงในปี ค.ศ. 1968 ก่อให้เกิดแนวความคิดในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นครั้งแรก การระบาดของ “เชื้อไข้หวัดนก” H5N1 ในฮ่องกงเมื่อปี ค.ศ. 1997 จนกระทั่งกลายพันธุ์แพร่ออกไปในวงกว้างจนกลายเป็นโรคประจำถิ่นของภาคพื้นเอเชียตะวันออกมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 ได้มีการพบ HA ของ H5N1 ในห่าน เมื่อติดตามไปก็พบว่าเป็นเชื้อตัวเดียวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคในห่านเลี้ยงตามบ้านในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1996

        ความสมดุลย์ทางนิเวศของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกโดยเฉพาะแถบชนบททางตอนใต้ของประเทศจีนถูกทำให้เปลี่ยนไป เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์จากไก่มีอัตราสูงขึ้นมากในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา การที่โรงงานผลิตตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีเป็ดเลี้ยงตามบ้านหรือนกป่าติดเชื้อไวรัสอาศัยอยู่ อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยจะเห็นได้จากการระบาดของเชื้อที่เป็นไวรัสสายพันธุ์ย่อยของ H5 และ H7 ในหลายพื้นที่ทั่วโลก

        สถานการณ์ของเชื้อ H5N1 มีความต่อเนื่องในการก่อให้เกิดความสูญเสีย กล่าวคือเชื้อไวรัสไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการระบาดในมนุษย์ แต่ยังทำลายอุตสาหกรรมสัตว์ปีกรวมทั้งชีวิตนกด้วย กลไกที่อยู่เบื้องหลังการระบาดคือการรวมตัวของยีนส์เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายของสัตว์ปีกที่อาศัยอยู่บนบกหรือในน้ำจะทำให้เกิดส่วนประกอบพันธุกรรมชนิดใหม่ซึ่งเป็นหนึ่งในยีนส์ (Z) ที่เป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการระบาดช่วงต้นปี ค.ศ. 2002 ยีนส์ชนิดนี้มีความเกี่ยวพันธ์กับเชื้อที่ระบาดในสัตว์ปีกและมนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปลายปี ค.ศ. 2003 และ 2004 ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2005 มีการระบาดของโรคในฝูงห่านหัวลายอพยพที่ทะเลสาบชิงไห่ ทางตะวันตกของจีน ซึ่งได้มีการแยกเชื้อไวรัส H5N1 และพบว่ามีส่วนประกอบยีนส์ Z ถึง 5 ชนิด และพบว่ายีนส์ HA, NA, NP มีส่วนประกอบของยีนส์ V ที่ไม่ค่อยได้พบในสัตว์ปีกทางตอนใต้ของจีน นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อไวรัส H9N2 ทางตอนใต้ของจีนมีการกระจายของเชื้อแบบสองทางในสัตว์ปีก แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจเนื่องจากไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับมนุษย์มากนัก
นอกจากบทบาทในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดใหญ่อย่างต่อเนื่องขององค์การอนามัยโลกแล้ว พัฒนาการของเชื้อ H5N1 ทำให้องค์กรระหว่างประเทศอื่น เช่น FAO และ OIE เข้ามาแสดงบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาไข้หวัดใหญ่มากขึ้น และยังมีอีกหลายหน่วยงานได้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนในบทบาทนี้

        วิธีการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดใหญ่ต้องดำเนินการโดยจัดให้มีการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสในนก (พื้นบ้านและนกป่า) สัตว์และคนอย่างเป็นระบบในระยาว ซึ่งเป็นการรวมพลังจากหลายฝ่ายทั้งด้านการศึกษา ความเข้าใจปัญหา ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และการสนับสนุนจากฝ่ายการเมือง ได้มีการจัดทำหลักการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดของโรคและแผนปฏิบัติการเมื่อมีการระบาด โดยการระบาดของเชื้อ H5N1 ในฮ่องกงเมื่อปี ค.ศ. 1997 และ 2001 ทำให้เป็นประสบการณ์ในการควบคุมการระบาดของโรคซาร์ส ในปี ค.ศ. 2003 ได้เป็นอย่างดี

        ระบบนิเวศของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่จับตามองสัตว์ปีกอยู่นั้น การระบาดของโรคซาร์สทำให้รู้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการติดต่อมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งหมูเลี้ยงในครัวเรือนอาจเป็นตัวกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รับเชื้อและทำให้เชื้อไวรัสไข้หวัดนกกลายพันธุ์เป็นเชื้อไวรัสในมนุษย์ที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสอย่างจริงจัง

        เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นโรคจากสัตว์สู่คนที่ไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้ ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสที่จะเรียนรู้ถึงเชื้อไวรัสที่อาจเป็นสาเหตุของการระบาดในสัตว์ปีกต่างๆ และจะต้องนำการค้นพบใหม่นี้มาเป็นพื้นฐานปรับใช้ให้สอดคล้องกับการเฝ้าระวังในระยะยาวในเอเชียตะวันออกและพื้นที่อื่นๆ คติของผู้นำเสนอคือ “จงคาดการณ์ในสิ่งที่ไม่คาดคิด”


 

<<back