Infection Control for Avian Influenza H5N1

วิทยากร: พญ.จริยา แสงสัจจา
Bamrajnaradul Hospital


หลักการควบคุมการแพร่กระจายโรคไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาล มีหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ

  • การให้ Influenza Vaccine แก่บุคลากร
  • การใช้ยาต้านไวรัสในการป้องกัน (chemoprophylaxis) แก่บุคลากร หากบุคลากรยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ตรงกับผู้ป่วย
  • การปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (Isolation Precautions)

       ซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะประเด็น Isolation Precautions เท่านั้น

       วิธีการแพร่กระจาย (Mode of transmission) ของเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปคือ ทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (Droplet transmission) และทางการสัมผัส (Direct and indirect transmission) โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทาง mucosa อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการตรวจศพ ของผู้ที่เสียชีวิตจาก Influenza H5N1 โดย นพ.มงคล และ คณะ จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ซึ่ง พบว่า ตำแหน่งที่ไวรัสแบ่งตัว (replication site) คือที่ pneumocyte ในปอดเป็นหลักฐานสนับสนุนว่า การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (airborne transmission) อาจเป็นวิธีการแพร่กระจายเชื้อโรคชนิดนี้ได้ด้วย


        การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (Isolation Precautions) สำหรับ Influenza A H5N1 ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้สำหรับผู้ป่วยที่สงสัย (suspect) และผู้ป่วยที่ยืนยัน (confirm) มีดังนี้

  • Standard Precautions
  • Droplet precautions และ Respiratory hygiene / cough etiquette
  • Contact precautions
  • Airborne precautions

         ทั้งนี้ในระยะ H2 หรือ H3 phase เครื่องป้องกันร่างกาย (PPE) ที่แนะนำให้ใช้คือ ถุงมือ, กาวน์, N95 mask และ แว่นป้องกันตาโดยพิจารณาตามลักษณะการสัมผัสและความเสี่ยงของกิจกรรมที่ปฏิบัติกับผู้ป่วย ส่วนระยะ pandemic phase ซึ่งมีความขาดแคลนของทรัพยากร อาจใช้เพียง surgical mask, ถุงมือ สำหรับ Hand hygiene เป็นมาตรการที่ต้องเน้นในทุกระยะของการระบาด ในประเด็นของห้องแยกสำหรับผู้ป่วย แนะนำให้ใช้ Airborne Infection isolation Room (AIIR) ในระยะ H2 หรือ H3 phase
ส่วนในระยะ Pandemic phase แนะนำให้ใช้ Cohort ward ซึ่งมีอากาศถ่ายเทดี ไม่ติดเครื่องปรับอากาศ และมีระยะห่างระหว่างเตียงมากกว่า 3 ฟุต สำหรับ Respiratory hygiene/Cough Etiquette ซึ่งองค์การอนามัยโลกเน้นให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัดนั้น มีประเด็นที่สำคัญคือ

  • ใช้ droplet precautions กับ ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจทุกคนโดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ป่วยจะป่วยด้วยโรคติดเชื้อหรือไม่
  • ควบคุมโรคที่แหล่งแพร่เชื้อ (Source control) โดยการให้ผู้ป่วยที่มีอาการไอ, จาม สวมหน้ากาก อนามัย
  • รณรงค์การทำความสะอาดมือ (Hand hygiene)
  • จัดอ่างล้างมือและถังขยะติดเชื้อ สำหรับผู้ป่วยในบริเวณโถงรอตรวจ
  • แยกผู้ป่วยจากผู้อื่นให้เร็วที่สุด (Early Separation) โดยมีมาตรการคัดกรองผู้ป่วย
  • หากต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ก็ควรจะแยกจากผู้ป่วย อยู่ให้เร็วที่สุด (Early isolation)

         ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติ Isolation precautions ดังกล่าวกับผู้ป่วยจนกว่าจะพ้นระยะการแพร่กระจายโรค

<<back