Panel Discussion – CONCLUSIONS from the Second Meeting of Influenza Foundation (Thailand)
– March 10-11, 2005

ประธาน นพ. ลือชา วนรัตน์
ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ดำเนินการอภิปรายและร่วมสรุปโดย
Dr. Mark Simmerman โครงการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่

  1. นพ. ศิริศักดิ์ วรินทราวาท ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป
    การตั้งสต๊อกวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อที่จะได้ขยายการใช้ออกไปให้กว้างมากขึ้น

  2. นพ. ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรค
    ประเทศไทยได้เตรียมการด้านงบประมาณและเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการและบริหาร การปรับปรุงระบบเฝ้าระวัง และห้องปฏิบัติการ การเตรียมความพร้อม ด้านยา และวัคซีน เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการดำเนินการอย่างยิ่ง นอกจากนี้การเตรียมการยังต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  3. พญ. ฉันทนี บูรณะไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    การเฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีกมีความซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง ต้องอาศัยการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางสาธารณสุขเพื่อให้มีการเตือนภัยอย่างรวดเร็ว เป็นการ ป้องกันการระบาดในคน

  4. Dr. Nancy Cox, Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
    นับเป็นการดีอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมประชุมและได้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียมีความตื่นตัวในเรื่องการเตรียมการป้องกันการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ทางด้านสหรัฐ เองก็มีการเพิ่มงบประมาณในการสนับระบบเฝ้าระวังโรค และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และยังพร้อมที่จะสนับสนุนองค์การอนามัยโลกในการดำเนินงานด้วยเช่นกัน

  5. นพ. ชิษณุ พันธุ์เจริญ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้เริ่มมีนโยบายในการนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาใช้

  6. นพ. ทวี โชติพิทยสุนนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี
    ชี้ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยทางคลินิก ทั้งด้านการวินิจฉัยและการให้การรักษา รวมทั้งความสำคัญของการนำข้อมูลทางคลินิกมาใช้ประโยชน์กับการเฝ้าระวังโรคให้มากขึ้น และการป้องกันโรคโดยวัคซีนและยาต้านไวรัส



CONCLUSIONS from the Second Meeting of Influenza Foundation (Thailand)
– March 10-11, 2005

โดย Dr. Mark Simmerman
โครงการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่
ศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐด้านสาธารณสุข


Influenza disease burden
ไข้หวัดใหญ่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย ดังข้อมูลการคาดประมาณผู้ป่วยนอก 600,000 – 800,000 ราย และต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยในจากปอดบวม 10,000 – 50,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นในผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ ข้อมูลระบาดวิทยาชี้บ่งว่าพบผู้ป่วยส่วนมากในระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน ของแต่ละปี และอาจคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการให้การรักษาระหว่าง 993 ล้าน ถึง 2350 ล้านบาทในแต่ละปี

Vaccination
วัคซีนถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ และน่าจะเป็นประโยชน์กับคนทุกกลุ่มอายุ จากข้อมูลการในหลายประเทศพบว่าอัตราการใช้วัคซีนไม่ได้ขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศแต่อย่างใด ในประเทศไทยยังมีอัตราการใช้วัคซีนที่ต่ำอยู่ และยังขาดคู่มือและข้อแนะนำในการใช้วัคซีนอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยที่กระทรวงสาธารณสุขได้ให้การสนับสนุนว่าวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีความสำคัญในนโยบายการควบคุมโรค

Human influenza surveillance
กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายความคลอบคลุมของการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในคน ใน พ.ศ. 2548 ได้มีการนำการตรวจอย่างเร็ว มาใช้คัดกรองก่อนการเก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยัน หลักการของระบบเฝ้าระวังตือ ต้องง่าย ยืดหยุ่น เป็นตัวแทนประชากร ทันเวลา มีความไว และเป็นที่ยอมรับของแพทย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วย

Avian H5 surveillance
เป็นที่ยอมรับแล้วว่า H5N1 ได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นในสัตว์ปีกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาตรการควบคุมโรคในสัตว์ปีกที่ใช้ได้แก่ มาตรการความปลอดภัยด้านชีวภาพ การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ และการกำจัดหากพบการติดเชื้อ อาจมีการใช้วัคซีนในสัตว์จำเพาะกลุ่มเท่านั้น การให้สุขศึกษาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการแพร่โรคจากสัตว์สู่คนมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังต้องการการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์และคน

Influenza research
การศึกษาการใช้วิธีการตรวจอย่างเร็ว สามารถนำมาใช้ในการหาภาระโรค ฤดูกาลการเกิดโรคและการวิจัยหาความคุ้มทุนจากมาตรการการป้องกันต่างๆ ได้ การเฝ้าระวังและการศึกษาวิจัยในจังหวัดสระแก้วช่วยให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นด้านภาระโรค การศึกษาวิจัยต่อไปในเรื่องปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการที่รุนแรงและการคาดประมาณอัตราตายจากไข้หวัดใหญ่

Pandemic preparedness
กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ได้มีความก้าวหน้าอย่างมากในปีที่ผ่านมา ด้านการเตรียมการป้องกันการระบาดใหญ่ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณก้อนใหญ่เพื่อสนับสนุนการเตรียมการดังกล่าว รวมทั้งเตรียมการวิจัยพัฒนาวัคซีน ภายในปี พ.ศ. 2551 นอกจากนี้แผนเตรียมความพร้อมยังคลอบคลุม การเตรียมสต๊อกยา เพื่อการตอบสนองอย่างทันท่วงทีในการควบคุมการระบาด ณ.จุดเกิดการระบาดครั้งแรก

 


<<back