มูลนิธิส่งเสิรมการศึกษาไข้หวัดใหญ่

INFLUENZA FOUNDATION(THAILAND)

มูลนิธิส่งเสิรมการศึกษาไข้หวัดใหญ่

INFLUENZA FOUNDATION(THAILAND)

มูลนิธิส่งเสิรมการศึกษาไข้หวัดใหญ่

INFLUENZA FOUNDATION(THAILAND)

วันที่ : 2016-10-08
ผู้เขียน ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผมอยากจะขอเรียกยุงลายว่า ผู้ร้าย หรือ อสรพิษซ่อนเล็บ เราอยู่ในบ้านกับผู้ร้ายหรืออสรพิษโดยไม่รู้ตัว แถมเรายังปกป้องไม่ให้ใครไปทำร้ายมันอีก อ่านบทความของผมจบแล้ว ก็ตัดสินความเอาเองนะครับว่า จริงหรือไม่จริง ก่อนอื่นผมขออกตัวก่อนว่า ไม่ใช่ผู้รู้ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฏวิทยาหรือ ดร.แมลงแต่อย่างใด แต่ก็พอจะรู้จากครูสอน จากการอ่าน แบบลัก มักจำ เขามา ก็เลยอยากจะเอามาเล่าสู่กันฟัง จะได้ปลุกสำนึกท่านได้ไปจัดการกับผู้ร้ายในบ้านให้หมดสิ้น ยุงลาย ที่โรคในประเทศไทยมีอยู่๒ ชนิดคือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เจ้าตัวนี้นำโรค ไข้เลือดออกเด็งกี่และไข้ซิกา ยุงลายสวน (Aedes albopictus) เจ้าตัวนี้นำโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือไข้๙กุนกุนย่า บทความนี้ ผมจะขอเริ่มที่ผู้ร้ายในบ้านก่อน ลักษณะ และชีวนิสัยของยุงลายบ้าน แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะอยู่ตามภาชนะขังน้ำชนิดต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made water container) ทั้งที่อยู่ในบ้านและที่อยู่รอบๆบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังซีเม็นต์ ที่ใช้กักเก็บน้ำกิน เก็บน้ำไว้ใช้ในบ้าน อ่างปลูกบัว แจกันปลูกไม้ประดับ ปลูกพลูด่าง ที่รองขาตู้กับข้าวมีน้ำหล่อกันมด จานรองกระถางต้นไม้ประดับ ยางรถยนต์เก่าๆ กระป๋อง กะลามะพร้าว ถ้วยชามเก่าๆ กะโหลก กะลาที่มีน้ำขัง ที่มีน้ำฝนขัง อยู่รอบๆ บ้าน ใต้ร่มชายคาบ้าน ยุงลายบ้าน ชอบวางไข่ในนำจืดสนิท น้ำนิ่ง ไม่ชอบวางไข่ในน้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือนำไหล เป็นยุงอยู่ภายในร่ม อยู่ในบ้าน ขนดความยาวประมาณ ๔-๖ มิลลิเมตร มีเกล็ดสีดำลายสลับขาวตามลำตัว ที่ขาก็จะมีสีดำลายสลับขาวเป็นปล้องๆ ที่ขาหลังปล้องสุดท้ายจะมีสีขาวโดยตลอด ที่ด้านหลังของส่วนอกจะรูปเคียวมีสีขาวอยู่ทั้งสองข้าง จะมีชีวนิสัยอยู่ใกล้มนุษย์ เพราะยุงเพศเมียจะดูดกินแต่เลือดมนุษย์ ไม่กินเลือดสัตว์ จึงชอบอาศัยอยู่ใต้ชายคาในบ้าน ไม่ชอบบินออกไปในที่มีแสงแดด หรือร้อนจัด บินไปได้ไม่ไกลเกิน 1 กิโลเมตร ก็แสวงหาที่หลบในชายคา ส่วนมากจะบินไปได้เพียง 100-200 เมตรเท่านั้น ตามแหล่งชุมชนแออัด หลังคาบ้านใกล้ชิดกัน หลังคาบ้านเกยกัน จึงเป็นที่อาศัยของยุงลายกันทุกบ้าน ยุงลายจะออกหากินในเวลากลางวันจนถึงเวลาโพล้เพล้ใกล้พลบค่ำ หยุดพักในเวลากลางคืน เกาะอยู่ตามเสื้อผ้าที่แขวนเอาไว้ในบ้าน ตามตู้เสือผ้า เด็กเล็กๆที่นอนหลับในเวลากลางวันภายในบ้านที่ไม่มีมุ้งป้องกันยุงกวนยุงกัด จึงเสี่ยงต่อการถูกยุงลายกัดเอา ตามโรงเรียนก็มักจะเป็นทียุงลายชุม เด็กนักเรียน นุ่งกางเกงขาสั้น หรือนุ่งกระโปรง นั่งเรียนในห้องเรียน ก็เป็นกลุ่มเด็กที่เป็นเป้านิ่งให้ยุงลายกัด ยุงเพศเมียจำเป็นต้องได้กินเลือดมนุษย์ จึงจะวางไข่ได้ ส่วนยุงเพศผู้จะไม่กินเลือด จะกินนำหวาน และเครื่องดื่มอื่นๆ เมื่อก่อน เวลาที่ผผมสอนนักศึกษาแพทย์ ผมจะถามนักศึกษาว่า ทราบใหมว่า ขุงเพศใดที่จะกัดกินเลือดคน และนักศึกษาก็มักจะตอบไม่ได้ ผมจะชอบให้นักศึกษาท่องจำตามผม เอาไว้ให้ขึ้นใจว่า “ ยุงตัวผู้กินเบียร์ ยุงตัวเมียกินเลือด ” คุณหมอสมาน ฟูตระกูล อย่านึกว่า ผมช่วยเขาโฆษณาขายเบียร์ให้กับยุงนะครับ ผมเห็นว่ามันคล้องท่องจำได้ง่ายเท่านั้นเอง เด็กๆอนุบาลก็จำได้ ถ้ามียุงลายบินมาตอมบริเวณแก้วน้ำหวาน แก้วเครื่องดื่ม จะเป็นเพศผู้ การที่ไม่กินเลือดมนุษย์ เพศผู้จึงไม่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก แต่ก็เป็นส่วนที่สำคัญในวงจรการแพร่พันธุ์ วงชีพจักรของยุงลายจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ คือเริ่มจากมีการวางไข่ (egg) จากไข่กลายเป็นลูกน้ำ(larva) จากลูกน้ำ กลายเป็นตัวโม่ง (pupa)แล้วจึงจะเป็นยุงตัวโตเต็มวัย (adult mosquito) ตั้งแต่เริ่มวางไข่จนเป็นตัวต็มวัยจะกินเวลาประมาณ 9-14 วัน ยุงเพศเมียมีอายุเพียง 1 วัน กินเลือดได้ ก็สามารถผสมพันธุ์ได้ ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวก็จะวางไข่ได้หลายครั้ง โดยเฉลี่ยแต่ละครั้งจะวางไข่ได้ประมาณ 100-150 ฟอง ตลอดชีวิตของยุงตัวเมีย จะวางไข่ได้ 4-7 ครั้ง ยุงเพศเมียเพียงตัวเดียวจะแพร่พันธุ์ได้จำนวนไม่ต่ำกว่า 500-1,000 ตัว ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่มีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย รีบกลับไปจัดารกับผู้ร้ายในบ้านท่านเสียตั้งแต่วันนี้ ยุงลายจะวางไข่ในน้ำนิ่ง น้ำใส น้ำจืดไม่กร่อย จะวางไข่บนพื้นผิวที่เปียกชื้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย ภาชนะที่ภายในพื้นผิวที่ขรุขระ สีมืดทึบก็เป็นที่เหมาะในการวางไข่ ไข่ถ้าอยูในที่เปียกชื้น อุณหภูมิพอเหมาะ ภายในเวลา 1-2 นาที หรือยาวนานถึง 2 วันก็มี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ก็จะแตกงอกกลายเป็นลูกน้ำต่อไป แต่ถ้าอยู่ในที่แห้งแล้ง ไข่จะคงมีชีพได้ต่อไปอีกนานถึง 1 ปี ดังนั้น ตามยางรถยนต์เก่าๆที่เคยมีน้ำขัง ยุงลายจึงไปวางไข่ทิ้งเอาไว้ ถ้าน้ำแห้งไป ข้ามปี ไข่ที่เกาะอยู่ที่ภายในยางรถยนต์ จะเตรียมแตกตัวงอกเป็นลูกน้ำได้ทันที ลูกน้ำ จะมีชีวิตอยู่ได้ 5-7 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและอาหารและความหนาแน่นของลูกน้ำในภาชนะ เมื่อเป็นตัวโม่งจะมีอายุอยู่ได้เพียง 1-2 วัน ระยะตัวโม่งนี้ เป็นระยะที่ไม่กินอาหาร และจะทนต่อสารเคมีต่างๆ ต่อจากนั้นก็จะกลายเป็นยุงลายโตเต็มวัย เมื่อโตเต็มวัยแล้ว เพศผู้จะมีชีวิตอยู่ได้สั้นคือประมาณ 10 วันเท่านั้น แต่เพศเมีย จะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าคือประมาณ 30-60 วัน ที่ไม่น่าเชื่อก็คือ ยุงลายเพศเมียตัวใด มีโอกาสได้กัดเลือดคนไข้ไข้เลือดออกเด็งกี่ขณะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด ก็จะได้ไวรัสจากเลือดคนไข้ไปด้วย เวลาวางไข่ ยุงเพศเมียตัวนั้น จะถ่ายทอดเชื้อไวรัสเด็งกี่ไปไว้ที่ไข่ด้วย เรียกกันตามภาษาวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่า “transovarial transmission” ไวรัสเด็งกี่ก็จะรอดชีพอยู่ภายในไข่ยุงได้นาน พอยุงงอกออกเป็นตัวจากไข่ ยุงรุ่นลูกก็จะมีไวรัสเด็งกี่อยู่ในตัวเรียบร้อย เตรียมกัดคน ปล่อยเชื้อเด็งกี่ให้แก่ผู้ที่ถูกยุงกัดคนนั้น และเตรียมพร้อมที่จะเป็นไข้เลือดออกได้ สำหรับไวรัสซิกานั้น จะเหมือนกับไวรัสเด็งกี่หรือเปล่า คือจะมี “transovarial transmission” หรือไม ผมยังไม่ยืนยัน เพราะยังไม่เห็นข้อมูลตรงนี้ แต่อย่าลืมนะครับว่า ไวรัสเด็งกี่ และไวรัสซิกานั้น เป็นเครือญาติสนิทกันนะครับ ผมจึงอยากจะเดาว่า มันก็คงจะเข้ารูปเดียวกันนั่นแหละ เมื่อ 50 ปี เศษมาแล้ว ศาสตราจารย์ที่สอนวิชากีฏวิทยาทางการแพทย์ที่สถาบันโรคเขตร้อนที่ฮัมบวร์ก เยอรมนี สอนผมว่า ถ้าอยากจะรู้ว่า ยุงที่กำลังกวนใจเรานั้นเป็นยุงลาย หรือยุงรำคาญ ก็พยายามตบยุงมาสักตัว แล้วเอากระดาษขาวหนึ่งแผ่น และกระดาษดำอีก หนึ่งแผ่น แล้ววางยุงลงบนกระดาษขาวที กระดาษดำทีแล้วสังเกตดู บนกระดาษขาว สีขาวจะกลืนไปกับสีกระดาษ ยุงตัวนั้นจะแลดูเป็นสีดำ และทำนองเดียวกัน ก็จะแลเห็นยุงสีขาว บนกระดำ นั่นแหละคือยุงลาย ถ้ามีสีน้ำตาลซีดๆ จะเป็นยุงรำคาญ ยุงรำคาญนั้นกัดไม่เลือกเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ชอบมากเวลาโพล้เพล้พลบค่ำ กัดได้ทั้งในบ้านและที่กลางแจ้ง ครับพยายาม จะช่วยตำรวจปราบผู้ร้ายภายในบ้านให้ได้ พยายามปลุกท่านให้สำนึกถึงความรับผิดชอบในฐานะเจ้าของบ้าน เวลามีเจ้าหน้าจะไปช่วยพ่นหมอกควันกำจัดยุง ชาวกรุงส่วนใหญ่ก็ไปทำงานนอกบ้าน ไม่มีใครอยู่บ้าน บางทีมีคนอยู่ก็เข้าไปในบริเวณบ้านท่านไม่ได้ บางบ้านพอเห็นเจ้าหน้าที่ไปพ่นหมอกควัน สารเคมีกำจัดยุง ท่านก็รีบปิดประตู หน้าต่าง ปกป้องผู้ร้ายเอาไว้มืให้ได้รับอันตราย จริงหรือไม่จริงครับ

มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ 630 ซอย อาคารสงเคราะห์ (ซอย 23) ถ. นวมินทร์ แขวง คลองจั่น เขต บางกะปิ กทม.